- ใช้วัดทิศทางในการรับสัญญาณ
- ใช้เทียบวัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB
การเลือกใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจานดาวเทียม
เข็มทิศมีอยู่มากมายหลายแบบ แต่ที่นิยมมากที่สุดสำหรับช่างติดตั้ง จานดาวเทียม ในขณะนี้คือ เข็มทิศแบบไม้บรรทัด เหมือนภาพตัวอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท จานดาวเทียมใหญ่หรือเล็ก...ตอนนี้ แนะนำให้ใช้เข็มทิศแบบนี้กันทั้งนั้นละครับ
ข้อดีของเข็มทิศแบบนี้ก็ คือ สามารถหมุนปรับตั้งตัวเลขอ้างอิงได้ ใช้วัดปรับทิศได้ค่อนข้างแม่น และใช้วัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB ได้ด้วย และสำหรับท่านที่นำไปใช้ควบคู่กับแผนที่ที่มีอัตราส่วนเท่ากันกับ ตัวเลขที่พิมพ์ไว้ข้างๆ ตัวเข็มทิศ ก็จะสามารถวัดระยะทางเป็นแบบกิโลเมตร ได้เลยละครับ และสุดท้ายที่ยากจะแนะนำคือมีแว่นขยายให้ใช้ด้วย สรุปเข็มทิศนี้ค่อนข้างดีจึงยากแนะนำให้ใช้กันครับ
เข็มทิศเป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับวัดทิศทาง เพื่ออ้างอิงเป็นอุปกรณ์ตัวเล็กแต่ประโยชน์มากมายครับ ตัวเข็มทิศผลิตจากแผ่นแม่เหล็กบางๆ วางไว้บนจุดหมุนที่ไม่มีแรงเสียดทาน เมื่อเราปล่อยให้แผ่นแม่เหล็กบางๆนี้ เคลื่อนไหวแบบอิสระ ตัวแผ่นแม่เหล็กก็จะหมุนไปหยุดอยู่ที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งจุดนี้เองทำให้เราอ่าน ทิศทางได้
การกำหนดทิศเหนือและใต้ที่ตัวเข็มทิศ สำหรับเข็มทิศรุ่นนี้จะมีการทาสีไว้ที่ตัวเข็ม โดยกำหนดให้ฝั่งสีแดงเป็นทิศเหนือและฝั่งสีดำจะเป็นทิศใต้ (เมื่อเข็มทิศหมุนไปหยุดตามทิศทางมันแล้วเท่านั้นครับ)
การใช้เข็มทิศสำหรับการติดตั้งจานดาวเทียมต้องระวังเรื่องการรบกวนที่จะเกิดกับตัวเข็มทิศด้วย เพราะจะทำให้การวัดทิศเกิดความผิด พลาดได้ และเป็นผลให้หาสัญญาณดาวเทียมไม่เจอด้วยครับ
การรบกวนเกิดได้จากชิ้นส่วนที่เป็นเหล็ก และอุปกรณ์ที่มีแม่เหล็ก สิ่งเหล่านี้หากว่าตัวเข็มทิศวางอยู่ใกล้ๆจะทำให้เข็มทิศเพี้ยนจากความเป็นจริงได้ ต้องระวังเมื่อมีการเทียบวัด
ต่อไปนี้คืออุปกรณ์เสริมที่จะทำให้การวัดทิศวัดได้แม่นยำยิ่งขึ้น
สาเหตุที่ต้องใช้อลูมิเนียมมาประกอบใช้ เพราะแผ่นแม่เหล็กของตัวเข็มทิศจะ ไม่ดูดกับตัวฉากอลูมิเนียมทำให้การปรับเทียบวัด...ทำได้แม่นยำยิ่งขึ้นครับ ฉากแบบนี้ใช้เหล็กฉากไม่ได้นะครับ
อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้ครับ
1. อลูมิเนียมแบบฉากความยาว ประมาณ 2 ฟุต หรือ 60 ซม. (ห้ามใช้เหล็ก)
2. เข็มทิศแบบไม้บรรทัดตามแบบภาพหรือใกล้เคียง (เอาแบบปรับหมุนองศาได้)
นำเอาเข็มทิศติดไว้กับอลูมิเนียมแบบฉากโดยใช้เทปกาว 2 หน้า
เท่านี้ท่านก็มีอุปกรณ์วัดทิศแบบสุดยอดไว้ใช้ติดตั้งจานดาวเทียมแล้วละครับ
ที่มา http://www.pome-sat.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น